รายละเอียด:
พระนิรันตราย วัดบวรนิเวศ ครบ 3 รุ่น 3 แบบ 3 องค์ ดังนี้
1. พระนิรันตราย เนื้อนวะ ปี 2538
2. พระกริ่งนิรันตราย ญสส. เนื้อนวะ ปี 2535 พร้อมกล่อง
3. พระนิรันตราย แบบซุ้ม เนื้อทองทิพย์ ปี 2552
ประวัติ
1.พระนิรันตราย ปี 2538 วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ อุดผงจิตรดาและเส้นพระเกศาสมเด็จพระญาณสังวร นวะเต็มสูตร (ผสมทองคำ) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) ทรงเททองอธิฏฐานจิต ร่วมกับพระเกจิคณาจารย์และวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยที่ใต้ฐานบรรจุมวลสารจิตรลดาทรงประทาน และเส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ งาม ๆ (ปกติ องค์นี้ องค์เดียวก้อราคาเช่าบูชาที่ 10,000 บาทแล้วครับ)

2. กริ่งนิรันตราย ญสส. เนื้อนวะ ปี 2535 วัดบวรนิเวศวิหาร ใต้ฐาน โค๊ต ญสส. กล่องครับ....
ที่ฐานด้านหน้าขององค์พระนิรันตรายเป็นพระโค อันหมายถึงพระโคตรของพระองค์คือ โคตมโคตร ด้านหลังเป็นตรา ญสส. พระนามย่อของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ภายใต้พระเศวตฉัตร 3 ชั้น
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงอธิฏฐานจิต เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2535 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร งดงามและหายากสุดๆ แบบนี้
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) ทรงเททองและอธิฏฐานจิต พร้อมกับพระภาวนาจารย์ทั้งหลาย ณ มณฑลพิธีสนามหน้าพระอุโบสถรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม . ...หายากและงามมากครับ พร้อมกล่องเดิม ๆ

3. พระนิรันตราย แบบซุ้มเนื้อทองทิพย์ หลังตราวัดบวรนิเวศ ด้านหน้าพระโค อันหมายถึงโคตมโครตของพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนซุ้มด้านบนแต่ละช่องสลักพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ "พุทธคุณ 9 ประการ"
1. อรหํ เป็นพระอรหันต์
2. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
4. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
5. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
9. ภควา เป็นผู้มีโชค

----------------------------------------------------------------------------
ประวัติพระนิรันตราย
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2399 ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยังเดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง ท่านจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรจึงได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดฯ ว่า...สองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย….จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล และโปรดให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตคู่กับพระกริ่งทองคำน้อย
ในปี พ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริต ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า...พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง...พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย"
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อ พระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันเป็นเนื้อทองเหลือง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ จำนวน 18 องค์เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างทำการกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุติตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก หลังจากนั้น พระองค์ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละองค์ในเวลาต่อมา

ประวัติพระนิรันตราย
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2399 ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยังเดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง ท่านจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรจึงได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดฯ ว่า...สองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย….จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล และโปรดให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตคู่กับพระกริ่งทองคำน้อย
ในปี พ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริต ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า...พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง...พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย"
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อ พระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันเป็นเนื้อทองเหลือง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ จำนวน 18 องค์เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างทำการกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุติตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก หลังจากนั้น พระองค์ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละองค์ในเวลาต่อมา